รวม 5 เทคนิคการพิมพ์ลายผ้าน่ารู้

Last updated: 18 พ.ย. 2563  |  23323 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รวม 5 เทคนิคการพิมพ์ลายผ้าน่ารู้

วันนี้วินนาร์มีบทความดีๆ มาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการผลิตเสื้อผ้า เสื้อยืด เสื้อกีฬา เสื้อแฟชั่น สินค้าพรีเมียม ฯลฯ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรใช้เทคนิคไหนถึงจะเหมาะกับเสื้อผ้าหรือลายที่เราออกแบบมา วินนาร์จะมาแฉ 5 วิธีการพิมพ์ลายผ้าให้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เลือกเทคนิค ให้ลายหรือรูปภาพที่เราออกแบบมาเหมาะกับผลงานของเรามากที่สุดกันค่าาา ^ ^



1.Silk Screen คือ เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหมึกพิมพ์ ผ่านผ้าที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้นโดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ

ขั้นตอนการทำงาน : เริ่มต้นหลังจากที่เราได้ลายที่ต้องการ ที่จะสกรีนจะลงบนวัสดุ เริ่มที่การปาดหมึกลงบนบล็อกที่ทำขึ้นมาเพื่อให้สีติดลงบนพื้นผ้า (การสร้างบล็อกขึ้นมาต่อ 1 สี ที่ต้องการพิมพ์ ตามลายของเราลงไป ยิ่งมีสีเยอะ จำนวนของบล็อกจะเพิ่มตามจำนวนสี) หลังจากการปาดสีลงบนตัวผ้า จะต้องนำมาผ่านความร้อนเพื่อให้การดูดซึมของหมึกแห้งได้ไวขึ้น ชนิดของสีสำหรับน้ำมาสกรีนมีให้เลือกหลายชนิด เช่น สีลอย สีจม สีนู้น ฯลฯ จะให้สัมผัสที่แตกต่างกันออกไป

ผ้า : สามารถพิมพ์ได้บนผ้าทุกชนิด รวมถึงวัสดุต่างๆ เช่น พิมพ์กสรีนลงบนไม้ พลาสติคแทบทุกประเภท และอื่นๆ

จุดเด่น : ให้สีที่สดใส และติดทนแต่ไม่เน้นความละเอียดสูง ติดทนนานกว่างานพิมพ์ประเภทอื่นๆ ขนาดของลายพิมพ์ไม่จำกัด แต่ต้องใช้บล็อคขนาดใหญ่ เหมาะกับการสกรีนในจำนวนมากๆ เนื่องจากต้องมีการขึ้นบล็อก จำนวนของชิ้นงานควรจะมากตามไปด้วย


2. Digital Screen Transfer หรือ Digital Flim transfer (DFT) (ไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ) คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ล่าสุดที่เพิ่งออกมาไม่นานและได้รับความนิยมสูงสุดในตอนนี้ ก็คือเครื่องพิมพ์ระบบฟิล์มทรานเฟอร์

ขั้นตอนการทำงาน : พิมพ์ลายที่ต้องการลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วโรยด้วยผงกาว และนำมาอบให้ความร้อน เพื่อให้กาวละลายติดฟิล์ม หลังจากได้ชิ้นงานมาแล้ว สามารถนำไปรีดด้วยความร้อนลงบนผ้า (Heat Transfer) หรือ วัสดุที่ต้องการได้เลย

ผ้า : รองรับทุกชนิดผ้าและผ้าทุกสี
จุดเด่น : ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสี หรือลายกราฟฟิกในการพิมพ์ ใช้เวลาในการผลิตรวดเร็ว และง่าย สามารถพิมพ์ได้ตาม

ขนาดที่ต้องการ ความยาวไม่จำกัด ต้นทุนในการสั่งผลิตถูก



3. Flex Transfer คือ มีลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์ม (เหมือนสติกเกอร์) ที่ต้องใช้งานร่วมกับเครื่องรีดความร้อน และเครื่องตัดสติกเกอร์ ซึ่งในท้องตลาดนั้นจะเห็นอยู่บนเสื้อผ้าของนักกีฬา

ขั้นตอนการทำงาน : การนำแผ่นฟิลม์ มาตัดเป็นรูปที่ต้องการ และนำไปผ่านการกดทับด้วยความร้อน (Heat Transfer) แต่มีข้อจำกัด ในหนึ่งลายจะมีได้แค่ 1 สี เท่านั้น

ผ้า : สามารถรีดลงบนผ้าได้ทุกชนิด ทุกพื้นสี

จุดเด่น : ไม่ต้องสั่งผลิตในจำนวนที่มีปริมาณมาก ง่ายสะดวกรวดเร็วโดย มีลักษณะคล้ายสติกเกอร์มีหลากสีให้เลือก เช่น สีขาว สีดำ สีน้ำเงิน สีแดง สีเงิน สีทอง หรือ เนื้อกำมะหยี่ กากเพรช เป็นต้น นิยมนำมาตัดเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร สัญลักษณ์ สำหรับรีดติดเสื้อ เหมาะสำหรับใช้ตัดเป็นเบอร์เสื้อกีฬา ตัดโลโก้แบรนด์เป็นต้น


4. Direct to garment (DTG) คือ เป็นการสกรีนโดยใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะ พิมพ์หมึกลงบนเสื้อโดยตรง มีลายกราฟฟิกยากละเอียด ใช้สีในการพิมพ์สีเยอะ

ขั้นตอนการทำงาน : กระบวนการคือการนำหมึกมาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรง นำเสื้อไปวางบนแท่นพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) แบบ DTG เป็นระบบการสกรีนด้วยขั้นตอนที่คล้ายกับการพิมพ์กระดาษเพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษเป็นเสื้อเท่านั้นเอง
ด้วยการทำงานของเครื่องพิมพ์ดิจิตอลทำให้เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีรายละเอียดสูง ให้สีสันคมชัด

ผ้า : พิมพ์ลงบนเนื้อผ้า Cotton หรือ ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใยคอตตอน มากกว่าเท่านั้น สามารถพิมพ์บนเสื้อได้ทุกสี แต่ถ้าต้องการพิพม์ลงบนเสื้อสีเข้ม จะต้องรองพื้นด้วยหมึกขาวก่อน

จุดเด่น : พิมพ์ได้หลายสี ภาพสวย สกรีนคมชัด เช่น รูปถ่ายหรือภาพเหมือนจริง เป็นกระบวนการพิมพ์เสื้อ ที่ได้คุณภาพออกมาดี พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ 1 ตัวก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็มีราคาเท่ากัน แต่ ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะสูงกว่าระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) และ ระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เนื่องจากได้ภาพเสมือนจริงตามไฟล์ เช่น ภาพคน ภาพวิว มีความคมชัดมาก

 

5. Sublimation คือ การพิมพ์ภาพหรือลายลงบนผ้าสีอ่อนหรือสีขาว ตามที่เราออกแบบไว้
ขั้นตอนการทำงาน : โดยกระบวนการทำงานจะเริ่มที่การสั่งพิมพ์ภาพหรือลายที่ต้องการลงบนกระดาษจากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์เสร็จ ไปวางบนผ้าแล้วรีดด้วยความร้อนสูง(Heat Transfer) หรือเครื่องรีดโรลผ่านการกดทับเพื่อถ่ายเทน้ำหมึกจากกระดาษลงบนเนื้อผ้า ทำให้สีซึมลงบนเส้นใยผ้า ได้ลายตามที่เราต้องการ

ผ้า : ที่นำมาใช้ในงานพิมพ์ซับลิเมชั่น จะต้องมีส่วนผสมของใยโพลีเอสเตอร์ (Polyester) หรือสัดส่วนของโพลีเอสเตอร์ที่มากกว่าเท่านั้น

จุดเด่น : ของการพิพม์ซับลิเมชั่น หมึกซึมไปในเส้นใยของผ้า ลายที่พิพม์เป็นเนื้อเดียวกับผ้า ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสี สามารถพิมพ์ลายต่อเนื่องได้มีความคมชัดสูง มีสีสันสดใส สามารถซักหรือรีดทับได้


ข้อดีและข้อเสียของการสกรีนแบบต่างๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้